รายการพิเศษ

คำถาม : ทำไม TIMO BOLL ถึงยังคงแข็งแกร่ง?

คำตอบ : เป็นเพราะลูกเสิร์ฟสั้นพิฆาตที่รับยากต่อการรับ

เสิร์ฟสั้นแบบปั่นข้างลูก

Timo Boll (จากเยอรมนี) ได้ขึ้นไปเป็นมือ 1 ของโลก เมื่อเดือนมีนาคม 2018 และได้มีนักกีฬาเยาวชนดาวรุ่งอีกหลายคนที่จะเริ่มจะฉายแสงในวงการเทเบิลเทนนิสเกิดขึ้นมาอย่างเรื่อยๆ ถึงแม้วงการเทเบิลเทนนิสจะมีการเปลี่ยนเปลงกฎต่างๆอยู่ตลอดเวลา ความแข่งแกร่งของ Timo Boll ก็ยังคงไม่หายไปไหน ถึงแม้เขาจะอายุ 37 แล้วก็ตาม แม้ยุคนี้จะเป็นยุคที่ดุเดือดของวงการเทเบิลเทนนิส มันก็ทำให้เขาเป็นมากกว่า “คนพิเศษ”

Timo Boll ยังเป็นไอดอลของผู้เล่นอีกหลายๆคน และสิ่งนี้เองที่จะช่วยให้ผู้เล่นคนอื่นๆพยายามพัฒนาฝีมือตัวเอง รวมถึงการที่ Timo Boll เข้าใจถึงเทคนิค และการวางแผนที่ช่ำชอง มันจึงช่วยให้ Timo Boll ยังคงสามารถเล่นได้อยู่ในระดับท็อปมาเป็นเวลานาน

จุดแข็งของ Timo Boll คืออะไร?  เราจะมาหาคำตอบจากอดีตเพื่อนร่วมทีมอย่าง Seiva Kishikawa (จากญี่ปุ่น) เขาเคยเป็นอีตคู่ซ้อมของ Timo Boll และยังได้เจอหน้าคลาดตากันในหลายๆแมชท์ ทั้งนี้เรายังให้ Timo Boll ได้วิเคราะห์ตัวเองด้วยเช่นกัน

กล่าวโดยคุณ Seiva Kishikawa

“ ลูกเสริฟของ Timo Boll นั้นมีความหมุนมาก ทำให้ยากต่อการรับให้สั้น ”

Timo Boll เป็นผู้เล่นที่ไม่มีจุดอ่อนด้านเทคนิค ผู้เล่นที่ไม่มีจุดอ่อนเช่นนี้จะไม่สูญเสียความสามารถในการตี ถึงแม้เค้าจะกลายมาเป็นผู้เล่นที่มีอายุแล้วก็ตาม

เราทุกคนล้วนให้ความสนใจกับลูกทอปสปินหนักจากโฟรแฮนด์ของเขา แต่เขากลับให้ความสำคัญกับลูกแรก นั่นคือลูกเสิร์ฟ ลูกเสิร์ฟของเขาจะเด้ง เกิดจากการปั่นข้างลูก ทำให้ลูกสามารถเคลื่อนไหวได้แบบสองทิศทาง มันไม่ยากที่จะอ่านลูกเสิร์ฟสปินของเขา สิ่งที่เป็นจุดเด่นคือเขาจะใส่สปินหนักๆที่ลูก นั้นก็เป็นเรื่องยากที่ทำให้คู่ต่อสู้รับลูกเสิร์ฟสั้นกลับมา ลูกเสิร์ฟที่รับซะส่วนใหญ่มักจะยาวไปท้ายโต๊ะ มันจึงเปิดโอกาสให้เขาได้บุกด้วยสปินที่หนักหน่วง
เราสามารถรับลุกเสิร์ฟของเขาด้วยการตีสบัดข้อมือ แต่วิธีนี้ก็ไม่เวิร์คพอ เพราะเค้าก็จะโต้กลับมาด้วยลูกทอปสปินที่ยอดเยี่ยม

 การวิเคราะห์ตนเอง โดย TIMO BOLL

“ ผมใช้เพียงไม่กี่เซ็นต์ (ในการเสิร์ฟ) ”

“ผมคิดว่าลูกเสิร์ฟของผม มันดีมากนะ เพราะผมมีวิธีการเสิร์ฟหลายรูปแบบ มันไม่ใช่แค่การปั่นลูก แต่มันมีการเลือกตำแหน่งจุดตกของลูกและความยาว ที่แตกต่างกันออกไป การปั่นลูกที่น้ำหนักไม่เหมือนกัน ทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถคิดทันเราได้ ผลที่ได้คือเขาจะกะจังหวะลูกเราได้ไม่แม่นยำ และมันทำให้ผมสามารถใช้การตีกลับเพียงไม่กี่เซ็นต์ ดังนั้นนี่คือจุดแข็งของผม และมันเป็นจุดแข็งนึงที่ยิ่งใหญ่ของผมเลย”

ลูกเสิร์ฟปั่นข้างของ Timo Boll

จุดที่ 1 : ลูกแรก ต้องทำให้ลูกลงไปใกล้จุดท้ายของโต๊ะ แม้ว่า เมื่อเสิร์ฟลูกสั้น ก็ต้องเสิร์ฟให้ลูกลงใกล้เส้นมากที่สุด

ลูกเสิร์ฟของ Timo Boll ใช้การควบคุมในความยาวไม่กี่เซ็นต์ติเมตร นั่นเป็นจุดสำคัญที่นำไปสู่การบุกกลับทั้งสองด้านของ Timo Boll เขาใช้ลูกเสิร์ฟแบบปั่นข้างลูกด้วยการเสิร์ฟหมุนทั้งซ้าย และขวาสลับกันไป ถึงตอนนี้เราจะอธิบายลูกเสิร์ฟแบบปั่นข้างสั้นของเขาให้ทราบกัน ( การเสิร์ฟแบบปั่นข้างด้านซ้ายสำหรับคนใช้มือซ้าย,ไปที่ด้านขวาสำหรับคนที่ใช้มือขวา)

“ผมให้ความสำคัญกับลูกแรก ที่ผมตีไปหน้าโต๊ะเสมอ และนั่นเป็นที่มาของการตีใกล้เน็ต รวมถึงเป็นโอกาสที่จะตีกลับลูกที่สองบนโต๊ะ มันเป็นลูกสั้น ซึ่งจุดนี้ก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการเริ่มต้น ” ( Timo Boll อธิบาย )

ผู้เล่นส่วนใหญ่ในเวลาการลูกเสิร์ฟลูกสั้นนั้นมักจะพยายามเสิร์ฟให้ลูกอยู่ใกล้เน็ตที่สุด แต่สำหรับ Timo Boll แล้วเขาจะเสิร์ฟลูกสั้นให้ใกล้กับเส้นมากที่สุดเช่นเดียวกับการเสิร์ฟลูกยาว ปัจจัยที่สำคัญของเทคนิคนี้คือจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถอ่านความยาวของลูกเสิร์ฟได้

จุดที่ 2 : การใช้สวิงวงเล็ก เพื่อให้ความสำคัญของการควบคุม ให้สามารถกลับมาในจุดเตรียมพร้อมได้ทัน

ใช้กล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในการออกแรงจะทำให้ง่ายต่อการสวิง

คราวนี้เราลองมาดูการสวิงดูบ้าง Timo boll ใช้วงสวิงที่เล็กแล้วตีผ่านลูก (หลังจากที่ไม้กระทบกับลูก) การตีที่ง่ายและกระชับเช่นนี้จึงทำให้เขาสามารถตีให้แม่นยำและกลับไปยังท่าเตรียมพร้อม กับการตีลูกต่อไป

เราแนะนำการขยับตัวตีลูกของเขาเป็นตัวอย่าง ขณะที่จะตีลูกนั้นเขาจะลดตำแหน่งของศีรษะลงมา จะทำให้ง่ายต่อแก่การใส่ความหมุนบนลูกถึงแม้จะเป็นการตีวงเล็กก็ตาม ถ้าคุณสามารถใช้แรงศูนย์ถ่วงจากการลดตำแหน่งของศีรษะและโน้มตัวไปข้างหน้า มันจะทำให้ง่ายต่อการใส่แรงในจุดกระทบกับลูก(ขณะที่ไม้โดนลูก)

นอกจากนี้ การก้มศีรษะและการโน้มตัวไปข้างหน้ายังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่นทำให้ง่ายต่อการตีจังหวะที่ถูกต้องและจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตีลูก